สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 13-19 มิถุนายน 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,028 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,862 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,152 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,116 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 31,910 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.69
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 885 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,741 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 930 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,844 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.84 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,103 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 441 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,318 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,853 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.75 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 535 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 452 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,700 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,264 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.84 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 564 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.7352 บาท
2. สถานการณ์การผลิตและการค้าของโลก
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนมิถุนายน 2565 ผลผลิต 515.348 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 513.671 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2564/65 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือน
มิถุนายน 2565 มีปริมาณผลผลิต 515.348 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.33 การใช้ในประเทศ 519.215 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.94 การส่งออก/นำเข้า 54.255 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2564/65 ร้อยละ 2.63 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 183.438 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 2.06
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน กายานา อินเดีย ปากีสถาน ปารากวัย ไทย และอุรุกวัย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล เมียนมาร์ อียู และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล จีน ไอเวอรี่โคสต์ อียิปต์ อียู กานา อิรัก มาดากัสการ์ เม็กซิโก โมซัมบิก เนปาล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และมาลี
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน ปากีสถาน ไทย และสหรัฐอเมริกา  
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ฟิลิปปินส์
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา รายงานว่า ประธานาธิบดีดูเตอร์เต (Duterte) ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order (EO) No.171 Serie 2022 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 โดยได้ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราภาษีนําเข้าทั่วไป (MFN) สำหรับสินค้าข้าว และเนื้อสุกร โดยจะคงการปรับลดอัตราภาษีนําเข้า MFN สินค้าข้าว
ที่ร้อยละ 35 (ภาษีที่ใช้สำหรับการนําเข้าจากประทศสมาชิกองค์การการค้าโลกที่อยู่นอกกลุ่มอาเซียน) และอัตราภาษีนําเข้า MFN สำหรับการนําเข้าเนื้อสุกรในโควตา (In-quota) ที่ร้อยละ 15 และนอกโควตา (Out-quota) ที่ร้อยละ 25 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จากเดิมที่มีกำหนดครบอายุการบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 สำหรับสินค้าข้าว และวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 สำหรับสินค้าเนื้อสุกร รวมทั้งในคำสั่งฉบับเดียวกันนี้ ได้ปรับลดภาษีนําเข้า MFN สินค้าข้าวโพดและถ่านหิน โดยลดอัตราภาษีนําเข้า MFN สินค้าข้าวโพด สำหรับการนําเข้าในโควตาเหลือร้อยละ 5 และปริมาณ
นอกโควตาเหลือร้อยละ 35 ในขณะที่ลดอัตราภาษีนําเข้า MFN สินค้าถ่านหิน ปรับลงเหลือร้อยละ 0 โดยมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เช่นเดียวกัน เพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียที่มีต่อราคาและอุปทานอาหารภายในประเทศ ทั้งนี้ คำสั่ง EO No.171 ดังกล่าว ได้ถูกเผยแพร่ลงในเว็บไซด์
ราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565
การลงนามในคําสั่ง EO No. 171 ของประธานาธิบดีดูเตอร์เตเกิดขึ้นไม่กี่วันก่อนที่อำนาจในการแก้ไขอัตราภาษี
จะสิ้นสุดลง และก่อนที่สภาคองเกรสจะกลับมาประชุมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติ 10863 ได้ให้อำนาจประธานาธิบดีเกี่ยวกับสวัสดิการทั่วไป และความมั่นคงของชาติ รวมทั้งตามคำแนะนําของสำนักงานเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งชาติ (National Economic and Development Authority: NEDA) ในการเพิ่ม ลด หรือยกเลิกอัตราภาษีนําเข้า ทั้งนี้ ประธานาธิบดีดูเตอร์เต ได้ระบุเหตุผล ในประกาศคำสั่ง EO No.171 ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งที่กําลังดำเนินอยู่ระหว่างยูเครนและรัสเซียได้ผลักดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้นในระดับสูงสุดในรอบหลายปี โดยการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันข้าวโพด และปุ๋ย ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานในประเทศฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศ
จึงมีความจำเป็นต้องคงการลดอัตราภาษีนําเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าว และเนื้อหมูไว้ชั่วคราวต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามคำสั่ง EO No.134 และ No.135 ก่อนหน้านี้ ในการเพิ่มอุปทาน ขยายแหล่งนําเข้า รวมถึงการรักษาเสถียรภาพราคาเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ สำหรับการลดภาษีนําเข้าข้าวโพดและถ่านหินเพิ่มเติมเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่เกิดจากวิกฤต ยูเครน-รัสเซีย โดยการลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์
ทั้งสองรายการดังกล่าว จะทำให้ประเทศฟิลิปปินส์สามารถขยายแหล่งอุปทาน และลดราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลักได้
ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2565 คณะกรรมาธิการด้านภาษี (Tariff Commission) ภายใต้ NEDA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้ให้คำแนะนําแก่ประธานาธิบดีดูเตอร์เต ในการปรับลดอัตราภาษีข้าวโพดและถ่านหิน และขยายเวลาการปรับลดภาษีนําเข้าข้าว และเนื้อสุกร เพื่อลดผลกระทบจากความท้าทายทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีต่อราคาอาหาร
ในประเทศ และสมาคมผู้ผลิตเนื้อสัตว์แห่งฟิลิปปินส์ (The Philippine Association of Meat Processors: PAMPI)
ได้ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่า การกลับไปเก็บอัตราภาษีนําเข้าเนื้อสุกรในระดับสูงเหมือนเดิม อาจส่งผลกระทบด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากฟิลิปปินส์ยังคงได้รับผลกระทบจากอุปทานเนื้อสุกรในประเทศที่ลดลง และราคาขายปลีกเนื้อสัตว์ที่ยังคงสูงขึ้นจากผลกระทบของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อฟาร์มสุกรในท้องถิ่น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการข้าวที่เพิ่มขึ้น และผู้ซื้อกําลังมีความกังวลว่าอินเดียอาจจะจํากัดการส่งออกข้าวในอนาคต หลังจากที่รัฐบาลได้จํากัดการส่งออกข้าวสาลีและน้ำตาลไปแล้ว โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ระดับ 357-362 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นจากระดับ 355-360 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่วงการค้าระบุว่า ผู้ซื้อกําลังต้องการข้าวหัก (100% broken rice) และข้าวขาว 5% จากอินเดียเพิ่มขึ้น ขณะที่แหล่งข่าวทางการค้าระบุว่า อินเดียยังไม่มีแผนที่จะควบคุมการส่งออกข้าว เนื่องจากมีสต็อกเพียงพอ และราคาข้าวในประเทศยังคงต่ำกว่าราคาอุดหนุนที่รัฐกำหนดไว้
ทางด้านสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า กระทรวงการอาหาร ระบุว่ารัฐบาลอินเดียยังไม่มีแผนที่จะสั่งห้ามหรือจํากัดการส่งออกข้าว เนื่องจากมีสต็อกข้าวเพียงพอ โดยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากการตัดสินใจอย่างกะทันหันของรัฐบาลอินเดียในการห้ามส่งออกข้าวสาลี ทำให้วงการค้าเกิดความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่รัฐบาลจะกำหนดห้ามส่งออกข้าวเช่นกัน ทำให้ผู้ซื้อข้าวจากต่างประเทศจำนวนมากได้เพิ่มการสั่งซื้อและทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับ
ผู้ส่งออกของอินเดีย
รัฐมนตรีกระทรวงอาหารยืนยันว่ารัฐบาลยังไม่มีแผนดังกล่าว เนื่องจากอินเดียมีสต็อกข้าวเพียงพอ และราคาข้าวในประเทศยังอยู่นระดับที่ต่ำกว่าราคาอุดหนุนขั้นต่ำ (the minimum support prices; MSP) ที่รัฐบาลกำหนด
โดยในปัจจุบันอินเดียมีสต็อกข้าวสารและข้าวเปลือกรวมกันประมาณ 57.82 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าระดับสต็อกปกติ
ที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 13.54 ล้านตัน ถึง 4 เท่า
สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (the India Meteorological Department) ที่พยากรณ์ว่า ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนนี้ จะมีฝนตกมากขึ้นจากอิทธิพลของลมมรสุม (ฤดูฝน) โดยคาดว่าจะมีฝนตกกระจายครอบคุลมพื้นที่ภาคกลาง และเขตที่ราบทางภาคเหนือของประเทศ
ทั้งนี้ ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของอินเดียได้เริ่มขึ้น และมีผลกระทบต่อรัฐ Kerala ที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ซึ่งเร็วกว่าเวลาปกติ 2 วัน (ตามปกติฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ไปจนถึง
สิ้นเดือนกันยายนของทุกปี) โดยขณะนี้ปริมาณฝนที่ตกลงมายังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 42
ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่า บางพื้นที่ในรัฐทางใต้ ตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ได้รับปริมาณน้ำฝนในระดับปกติถึงระดับมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ที่มีฝนตกลงมาจากอิทธิพลของลมมรสุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณภาคกลาง และตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ถือว่ามีความสำคัญต่อการปลูกพืชสำคัญหลายชนิด
ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยา (IMD) คาดการณ์ปริมาณฝนในปีนี้จะอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ยปกติที่ร้อยละ 103 โดยจะมีการกระจายตัวไปทั่วประเทศในระดับที่ดี ซึ่งการพยากรณ์ว่าปริมาณฝนจะอยู่ในเกณฑ์ดีนั้น มีแนวโน้มที่ช่วยให้ผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา (IMD) ได้กำหนดปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยหรือปกติ (average or normal rainfall) ว่าอยู่ในช่วงร้อยละ 96 ถึง 104 ของค่าเฉลี่ย 50 ปี ที่ระดับ 87 เซนติเมตร (ประมาณ 35 นิ้ว) สำหรับฤดูกาลในช่วง 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน) ซึ่งฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้นในทุกปี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการเกษตรของอินเดีย
องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า สต็อกข้าว ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 มีประมาณ 49.68 ล้านตัน (รวมข้าวสารที่คํานวณมาจากสต็อกข้าวเปลือกประมาณ 24.71 ล้านตัน) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.08 เมื่อเทียบกับปริมาณ 49.15 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา แต่ลดลงประมาณร้อยละ 2.78 เมื่อเทียบกับปริมาณ 51.1 ล้านตัน ในเดือนพฤษภาคม 2565
ขณะที่สต็อกธัญพืช (ข้าว ข้าวสาลี และธัญพืชอื่นๆ) โดยรวมของอินเดีย ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 มีประมาณ 81.093 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 26.4 เมื่อเทียบกับปริมาณ 110.185 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 1.05 เมื่อเทียบกับปริมาณ 81.953 ล้านตัน ในเดือนพฤษภาคม 2565 โดยสต็อกข้าวสาลี
มีประมาณ 31.142 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 48.35 เมื่อเทียบกับปริมาณ 60.291 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.62 เมื่อเทียบกับจำนวน 30.346 ล้านตัน ในเดือนพฤษภาคม 2565
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ว่า รัฐบาลอินเดียได้ปรับเพิ่มราคาอุดหนุนข้าวเปลือกขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับปีการตลาด 2565/66 (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 กันยายน 2566) โดยคณะกรรมการของคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (The Cabinet Committee on Economic Affairs (CCEA)) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีการอนุมัติให้เพิ่มราคาอุดหนุนข้าวเปลือกขั้นต่ำ (MSP) สำหรับพืชผลในฤดูการผลิต Kharif Crops ซึ่งรวมถึงข้าวเปลือกด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ปรับเพิ่มราคาอุดหนุนขั้นต่ำสำหรับข้าวเปลือกเกรดทั่วไป (common-grade paddy) สำหรับปีการตลาด 2565/66 ขึ้นอีกประมาณร้อยละ 5.2 เป็น 2,040 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 262 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) จากเดิม (ปีการตลาด 2564/65) ที่ 1,940 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 249 เหรียญสหรัฐต่อตัน) และสำหรับข้าวเปลือกเกรด A (Grade A paddy) ได้ปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.1 เป็น 2,060 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 265 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน) จากเดิมที่ 1,960 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 252 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน)
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.77 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.59
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.68 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 376.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,067.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 396.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,566.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.05 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 499.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 777.00 เซนต์ (10,753.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 762.00 เซนต์ (10,400.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 353.00 บาท


 


มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2566 (จะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่า มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.389 ล้านไร่ ผลผลิต 35.800 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.446 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.06 ร้อยละ 3.20 และร้อยละ 1.12 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.663 ล้านตัน (ร้อยละ 1.91 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566ปริมาณ 21.11 ล้านตัน (ร้อยละ 58.98 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.54 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.79
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.25 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.69
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.12 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.46 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.38 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.46
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 292 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,180 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 293 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,007 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.34
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 535 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,670 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (18,430 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.665 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.684 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.303 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 1.13 และร้อยละ 0.99 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 9.95 บาท ลดลงจาก กก.ละ 10.11 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.58                                                         
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 54.10 บาท ลดลงจาก กก.ละ 56.28 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.87                                 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มมีราคาต่ำกว่าน้ำมันถั่วเหลืองมากที่สุดในรอบหกสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีราคาต่างกันถึงตันละ 282.21 ดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 14 มิถุนายน 65 เนื่องจากอินโดนีเซียมีการยกเลิกมาตรการห้ามการส่งออกและเพิ่มปริมาณการส่งออก อินโดนีเซียลดภาษีส่งออกสูงสุดจากตันละ 375 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ มีผลวันที่ 13 มิถุนายน 65 และสิ้นสุด ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 65 เพื่อเร่งการส่งออก และในเดือนสิงหาคม 65 จะเพิ่มภาษีส่งออกสูงสุดเป็นตันละ 240 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ตันละ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,703.99 ดอลลาร์มาเลเซีย (45.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 6,537.21 ดอลลาร์มาเลเซีย (52.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.75  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,587.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (55.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,666.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (57.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.71
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         
           ตัวแทนของอุตสาหกรรมน้ำตาลประเทศอินเดียได้มีการนัดพบกับทางรัฐบาลเพื่อเจรจาขอให้มีการเพิ่มปริมาณการส่งออกจากที่ได้กำหนดไว้ที่ 10 ล้านตัน โดยทาง The National Federation of Cooperative Sugar Factories เรียกร้องให้ขยายปริมาณการส่งออกอีก 500,000 ตัน ขณะที่ โรงงานในรัฐ Maharashtra ยังเหลือน้ำตาลในคลังอีก 700,000 ตัน
           โฆษกของบริษัท Mackay Sugar ในออสเตรเลียกล่าวว่ารัฐบาลจำเป็นที่จะต้องออกนโยบายสนับสนุนและช่วยเหลือในเรื่องของพลังงานทางเลือกมากกว่านี้เพื่อที่กระตุ้นอุตสาหกรรมน้ำตาลให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,702.16 เซนต์ (21.99 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,736.36 เซนต์ (22.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.97
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 422.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 419.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 77.12 เซนต์ (59.76 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 81.80 เซนต์ (62.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.72


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.81
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 951.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 964.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 690.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 700.00 ดอลลาร์สหรัฐ (23.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,212.40 ดอลลาร์สหรัฐ (42.11 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,229.40 ดอลลาร์สหรัฐ (42.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 762.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.50 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 773.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.48 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,177.80 ดอลลาร์สหรัฐ (40.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,193.80 ดอลลาร์สหรัฐ (40.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.75 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.69
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20.46
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 143.86 เซนต์(กิโลกรัมละ 111.51 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 141.38 เซนต์ (กิโลกรัมละ 108.05 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 3.46 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,851 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,807 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,495 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,454 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,013 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  101.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.08  คิดเป็นร้อยละ 1.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 91.44 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 106.64 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.51 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 42.23 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.17 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.14 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 43.29 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 316 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 323 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 335 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 330 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.44 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.55 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 368 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 367 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 386 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 380 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 345 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 367 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.05 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.03 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.50 สัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.01 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.31 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.34 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 83.25 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.56 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง


 

 
ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี